เมนู

บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่ นิพพาน. จริงอยู่ นิพพานนั้นท่าน
กล่าวว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นสมณะ.
บทว่า พฺรหฺมญฺญํ คือความเป็นผู้ประเสริฐสุด. บทว่า พฺรหฺมญฺ-
ญตฺถํ
ได้แก่ พระนิพพาน เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นผู้ประเสริฐสุด.
เกจิอาจารย์กล่าวว่า นิพพานอันมาแล้วว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งราคะในหนหลัง
และใน 3 สูตรนี้ในที่ใด ๆ แม้อรหัตก็ควรในที่นั้น ๆ เช่นกัน.
จบอรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น
จบปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฏิปัตตสูตร 2. ปฏิปันนสูตร 3. วิรัทธสูตร 4. ปารสูตร
5. ปฐมสามัญญสูตร 6. ทุติยสามัญญสูตร 7. ปฐมพรหมัญญสูตร
8. ทุติยพรหมัญญสูตร 9. ปฐมพรหมจริยสูตร 10. ทุติยพรหมจริยสูตร

อัญญติตถิยวรรคที่ 5



1. วิราคสูตร



ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ


[117] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์-
ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเพื่อสำรอกราคะ.
[118] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึง
ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติ
เพื่อสำรอกราคะมีอยู่หรือ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่
ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะมีอยู่.
[119] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอก-
ราคะเป็นไฉน อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือความเห็นชอบ ฯลฯ
ความตั้งใจชอบ นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
จบวิราคสูตรที่ 1